วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

          ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้ ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
         1.) ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
         2.) หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
         3.) ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
         4.) ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
         5.) ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
         6.) ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน


                ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์แลส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความ ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครืข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย  เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุดดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อ บังคับของ  เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และ เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene  H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก  จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
              ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการ รับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความ สำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่      บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
- ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
- ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
- ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
- พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้ จดหมาย จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา

 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์


       บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำ สั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนา ด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
ก่อน การเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการ เรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหา การทำงานได้  เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
หลังจาก เรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์


                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์  (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง    ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ   ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้ ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล ข่าว บางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า การ เขียนข่าวทุกครั้ง
จะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ในการทดสอบการส่งไม่ควร ทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่ง ข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก หลีกเลี่ยง การใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่ พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น IMHO-in  my  humble /  honest  opinion FYI-for  your  information BTW-by  the  way
               การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่า ข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
               ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยก เลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์บัญญัติ 10 ประการ  


          ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
          1.สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
          2.สูเจ้าต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
          3.สูเจ้าต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
          4.สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
          5.สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
          6.สูเจ้าต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
          7. สูเจ้าต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
          8.สูเจ้าต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
          9.สูเจ้าต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
         10.สูเจ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท
       
               จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อ สังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวาง ระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและ กัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน
เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

อ้างอิง : http://dat009.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558




การเขียนบรรณานุกรม  (อ้างอิง)


ความหมายของบรรณานุกรม

             บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

 จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม

             1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
             2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
             3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จาก       บรรณานุกรมนั้น ๆ
            4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้

 วิธีเขียนบรรณานุกรม

             การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้

            1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
            2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
            3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8
            4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้

1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ


   1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง

           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว



         1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2


       
           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3




       1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ




     1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง




       1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย





        1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล





      1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์






1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ

           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ
         
    1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน  
              1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์




            2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์



              3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์




             4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์





        1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
                   
                 1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ
                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง





                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง





                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย



            2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก





                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ



             3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”



              4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”




              5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”




2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร



     2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่





    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี





3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์



  3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์




    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว



    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์





4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต


    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ





    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)




             การเขียนบรรณานุกรมมี 2 แบบ ได้แก่ การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน และ 
การอ้างอิงที่แทรกอยู่ในเนื้อหา
            นอกจากนี้มีโครงสร้างและรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1.บรรณานุกรมหนังสือ
2.บรรณานุกรมวารสาร
3.บรรณานุกรมหนังสือพิมพ์
4.บรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์หรืออินเตอร์เน๊ต



วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558



               การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ


การประเมินสารสนเทศ 



               ขั้นตอนการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นจากแหล่งต่างๆ เพื่อตรวจสอบความสำคัญ และคุณค่าของสารสนเทศว่าตรงตามความต้องการของเราหรือไม่ เช่น เนื้อหาเก่าเกินไปหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการหรือไม่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณค่า และนำไปใช้งานได้อย่างแท้จริง

ทำไมจึงต้องประเมินสารสนเทศ
             เพราะในการสืบค้นสารสนเทศอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการ และไม่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสารสนเทศนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ จึงควรประเมินสารสนเทศเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่สอดคล้องกับความต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

การประเมินสารสนเทศที่ได้จากอินเทอร์เน็ต

              เราสามารถพิจารณาได้จาก :
1. ความเกี่ยวข้อง (Relevance) เป็นการพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นมีความเกี่ยวข้อง หรือตรงกับหัวข้อที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากชื่อเรื่อง และคำสำคัญ 2. ความถูกต้อง (Accuracy) เป็นการตรวจสอบเนื้อหาของสารสนเทศที่ได้ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก 
• การนำเสนอในลักษณะเป็นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น มีความเป็นกลางหรือไม่
• มีโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือไม่ หากมีอาจทำให้สารสนเทศมีความลำเอียงได้
• มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่
• มีการเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

3. ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำ (Authority) เป็นการพิจารณาว่าผู้จัดทำหรือผู้เขียน มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในหัวข้อเรื่องนั้นๆ หรือไม่ เช่นดูจากรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ จากหัวข้อ About us หรือดูจาก URL ที่ลงท้ายด้วย .edu, .ac, .org, .gov, .go.th ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น .com, .biz ตลอดจนมีที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้ ฯลฯ

4. ความทันสมัย (Currency) เป็นการพิจารณาถึงความทันสมัย หรือการปรับปรุงครั้งล่าสุด เช่น ดูว่าสารสนเทศนั้นมีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อใด สามารถดูได้จากวันที่ที่สร้าง / แก้ไขปรับปรุงเว็บไซต์ หรือดูจากวันเดือนปีของแหล่งที่มาที่นำมาอ้างอิง


จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ


               การใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตน จะต้องเขียนอ้างอิงถึงผลงานที่นำมาอ้างทุกครั้ง เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้เขียนเดิม อีกทั้งยังช่วยผู้อ่านในการติดตาม ค้นหารายการอ้างอิงที่ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปได้

ขั้นตอน การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ
             
               การประเมินสารสนเทศเป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น สารสนเทศที่ไม่ใช้ เช่น เป็นสารสนเทศที่ไม่ตรงกับความต้องการ, เนื้อหาสารสนเทศล้าสมัย หรือ สารสนเทศนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ จากการประเมินสารสนเทศจะทำให้เราได้สารสนเทศที่มีคุณค่าและนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

หลักการประเมินสารสนเทศ
             
               1.ประเมินความตรงกับความต้องการสารสนเทศ
                   พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการสารสนเทศของเราหรือไม่ ตรงมากน้อยเพียงใด โดยเลือกเรื่องที่ตรงกับความต้องการ ตัดทิ้งเรื่องที่ไม่ตรงกับความต้องการวิธีการ คือ การอ่านเบื้องต้น ได้แก่การอ่านชื่อเรื่อง คำนำ หน้าสารบัญ หรือเนื้อเรื่องย่อๆ เพื่อพิจารณาว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการสารสนเทศหรือไม่ซึ่งส่วนใหญ่ ชื่อเรื่องของสารสนเทศก็อาจจะสามารถประเมินได้ทันทีว่า ตรงหรือไม่ตรง เนื่องจาก คำสำคัญเป็นคำเดียวกันกับความต้องการสารสนเทศและชื่อเรื่องของสารสนเทศ แต่หากชื่อเรื่องไม่บ่งชัดว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันอาจต้องพิจารณาจาก คำนำ สารบัญ และเนื้อหาโดยย่อ

              2. ประเมินความน่าเชื่อถือและความทันสมัยของสารสนเทศ
                  พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ น่าเชื่อถือเพียงไร ซึ่งการประเมินความน่าเชื่อถือมีรายละเอียดที่ควรพิจารณา ได้แก่
                  2.1 ประเมินความน่าเชื่อถือของ แหล่งสารสนเทศ โดยพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นได้มาจากแหล่งสารสนเทศใด โดยส่วนใหญ่ แหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือนั้นจะเป็นแหล่งสารสนเทศสถาบัน เช่น ห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาจากบรรณารักษ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าหรือไม่มีความน่าเชื่อเลย คือ การรับรู้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองเนื้อหาเองว่าเนื้อหาจากเว็บไซต์ใดที่น่าเชื่อถือ
                   2.2 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ทรัพยากรสารสนเทศ โดยพิจารณาว่า ทรัพยากรสารสนเทศหรือสารสนเทศนั้นๆ เป็นรูปแบบใด lสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น
                    2.3 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ โดยพิจารณาว่า ผู้เขียนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ รวมทั้งความน่าเชื่อถือผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาเฉพาะด้าน มักจะมีความน่าเชื่อถือในแวดวงวิชาการนั้นๆ หน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นภาครัฐบาล องค์กร สมาคม มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือบุคคล
ตัวอย่าง เช่น กรณีที่เป็นบทความวิชาการ ให้พิจารณาว่า ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชานั้นๆ มีชื่อเสียงในทางวิชาการ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือไม่ ผู้เขียน/ผู้จัดทำ/สำนักพิมพ์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และต้องมีความต่อเนื่องในการเผยแพร่
                   2.4 ประเมินความทันสมัยของสารสนเทศ โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์พิจารณาความทันสมัย จาก วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ เป็นต้น
             
                3. ประเมินระดับเนื้อหาของสารสนเทศ ซึ่งระดับเนื้อหาสารสนเทศมี 3 ระดับ ได้แก่

                    1. สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เช่น ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายส่วนตัว รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล สารสนเทศประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือควรนำมาอ้างอิงมากที่สุด เพราะเป็นข้อมูลจริงที่ได้จากผู้เขียน และยังไม่ได้ผ่านการเรียบเรียงหรือปรับแต่งใหม่จากบุคคลอื่น
                   2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) เป็นการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาเขียนใหม่ อธิบาย เรียบเรียง วิจารณ์ใหม่ให้เข้าใจง่ายเพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้สารสนเทศ หรือเป็นเครื่องมือช่วยค้นหรือติดตามสารสนเทศปฐมภูมิ เช่น หนังสือ บทความวารสาร บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
                   3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ 2 ระดับแรก ที่ไม่ได้ให้เนื้อหาสารสนเทศโดยตรงแต่เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น บรรณานุกรม ดรรชนีวารสารและวารสารสาระสังเขป

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.youtube.com/v/sf_RVvWbgdY?

แหล่งสารสนเทศ




                "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น"
ตั้งอยู่ที่ถนนกสิกรทุ่งสร้าง เป็นสถานที่ที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุและ  ศิลปวัตถุที่เป็นของแถบอีสานตอนเหนือ โดยรอบอาคารพิพิธภัณฑ์จัดตั้งใบเสมาหินที่ได้จาก "เมืองฟ้าแดดสงยาง" เป็นจำนวนมาก  โดยแบ่งเรื่องราวตามหัวข้อดังนี้
           1.สภาพภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาอีสานเหนือ
              1.1สมัยก่อนประวัติศาสตร์-การตั้งถิ่นฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ พิธีกรรม การฝังศพ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ-เมืองและชุมชนโบราณ
              1.2 สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็นวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมรหรือลพบุรีและวัฒนธรรมไทยลาว
           2. วิวัฒนาการศิลปะในประเทศไทย
           3. เมืองขอนแก่น ประกอบด้วย ร่องรอยอดีต ประวัติชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมพื้นบ้านโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ฯ มี -ใบเสมาหินจำหลักสมัยทวารวดี ชิ้นที่งามที่สุด คือ ใบเสมาหินจำหลักนูนต่ำ พระพุทธเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุเป็นภาพจำหลักที่ชัดเจนและสมบูรณ์กว่าแผ่นอื่น ภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท เป็นภาพแสดงการถวายความเคารพบูชาอย่างสูง ได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระพุทธรูปสำริด ภาพปูนปั้นและพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีได้จากการขุดแต่งเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ แผ่นเงินดุน ภาพพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ภาพบุคคล และเจดีย์บรรจุอยู่ในหม้อดินเผา ได้จากการขุดค้นเมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม  -โบราณวัตถุสมัยลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 เช่น
 -เทวรูปพระอิศวรหินทราย พบที่บริเวณกู่น้อย เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

http://iskk-crazyboxer.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

   


                                                 






  ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) 
         คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เป็นแก่นหรือเนื้อหาสำคัญที่ได้จำแนก ชี้แจง แสดงออกมาให้ปรากฏ โดยการกลั่นกรองเรียบเรียงและประมวลไว้โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส และอื่นๆ รวมทั้งบันทึกลงบนวัสดุหลายชนิด เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                                                        
                                                                      
  1. ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed materials) เช่น หนังสือ วารสาร รายงานประจำปี
  2. ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-printed materials) เช่น แถบบันทึกเสียง ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช
  3. ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resource) เช่น สื่อวัสดุคอมพิวเตอร์ต่างๆ                               
 ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด สมอ. มีทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ซึ่งได้แก่ มาตรฐานไทย มาตรฐานต่างประเทศ มาตรฐานภูมิภาค มาตรฐานระหว่างประเทศ กฎระเบียบทางวิชาการ ตลอดจนเอกสารด้านการรับรองคุณภาพ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปของเอกสาร ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และสื่อวัสดุทางคอมพิวเตอร์ (CD-ROM/DVD และ Diskette)


ทักษะการรับรู้สารสนเทศ  (Information Literacy)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารสนเทศเพื่อการศึกษา
ความหมาย
     การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ความสำคัญ     การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ

องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ

                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
   การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association. 2005 : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ

1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป้นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน

4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่

1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy) ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย
                                                      


2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น

                                                    
                                                                             

3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ

4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น

5. การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร
                                                        

                 


6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น

7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy)
 ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ

8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา

9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น




        ความต้องการสารสนเทศต้องเกิดจาก ความอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์รองรับ เช่น เพื่อการเข้าสังคม, เพื่อการทำงานเพื่อการเรียนเพื่อการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา และวัตถุประสงค์อื่นๆ 
ความต้องการสารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เกิดขึ้น โดยที่ตนเองยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นเพียงพอ หรือ อาจรู้แต่รู้ ยังไม่เพียงพอ รู้ยังไม่ชัดเจน เป็นต้น


ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 ขั้นตอน 

1. กำหนดความต้องการสารสนเทศ โดยกำหนดหัวข้อ (Topic) และ ขอบเขต 

          เป็นการกำหนดความต้องการ โดยพิจารณาจากความสนใจส่วนตัว ความสงสัย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการพยายามหาทางแก้ไข เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นๆ โดยกำหนดความต้องการสารสนเทศออกมาเป็น

        1.1 หัวข้อ หัวเรื่อง ชื่อเรื่อง Topic แทนความหมายเป็นคำสำคัญที่สั้นๆ เข้าใจง่าย 

       1.2 ขอบเขต กำหนดหรือสร้าง ขอบเขต โดยการเชื่อมโยงประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Topic  

2. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ
           เมื่อได้ หัวข้อ และ ขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการแล้ว ต้องกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศว่าจะใช้เพื่อกิจกรรมใด กิจกรรมนั้น มีลักษณะที่พิเศษ มีคุณค่าอย่างไร
            หากต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นหัวข้อพูดคุยกับเพื่อน คุณลักษณะของสารสนเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงลึกในเชิงวิชาการ สามารถใช้แหล่งสารสนเทศง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
            แต่หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียน เพื่อการทำงาน หรืออื่นๆ ที่มีคุณค่าสูง อาจต้องเลือกแหล่งสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น สถาบัน (ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
ตัวอย่างของการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ เช่น
       1) ลักษณะของสารสนเทศ เป็น ข้อความ ภาพประกอบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวเลข เป็นต้น
         2) ปริมาณ สารสนเทศที่ใช้ประกอบ ต้องใช้มากหรือน้อย ถ้ามาก จำนวน เท่าไร น้อย จำนวนเท่าไร
      3) คุณภาพ แม้ว่าสารสนเทศนั้นจะต้องมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงค์จะทำให้การคัดสรรคุณภาพเข้มข้นมากขึ้น คุณภาพสารสนเทศ หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้น

3. กำหนดแหล่งสารสนเทศและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ
            1) แหล่งสารสนเทศ โดยการคิดคำนึงและวิเคราะห์ว่า หัวข้อ ขอบเขต คุณลักษณะ ของสารสนเทศที่กำหนดขึ้นนั้น ควรที่จะใช้แหล่งสารสนเทศใด ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการ เช่น สถาบัน(ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
            2) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยการคิิดคำนึงและวิเคราะห์ว่า แหล่งสารสนเทศที่เลือกนั้น จะใช้ทรัพยากรประเภทใดบ้าง  เช่น แหล่งห้องสมุด ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา บทความวารสาร พจนานุกรม เป็นต้น  หรือ หากใช้แหล่งอินเทอร์เน็ต ต้องใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จำพวก เว็บเพจ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล เอกสารในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

          เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ หรือคำตอบในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยการซักถามผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ การคาดเดาคำตอบเอง การรับฟังข้อมูลจากผู้อื่น การค้นหาคำตอบจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศที่ตนตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ความต้องการสารสนเทศ
การแสวงหาสารสนเทศประกอบด้วยการะบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
          1.การตระหนักหรือการเล็งเห็นถึงความต้องการสารสนเทศ
          2.การพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศ
          3.การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ
ระดับความต้องการแสวงหาสารสนเทศ
          1.ระดับกว้าง  ผู้ต้องการใช้สารสนเทศสามารถระบุได้เพียงความชอบ ไม่ชอบ  ความไม่พึงพอใจอย่างกว้างๆ แต่ผู้ใช้ไม่สามารถระบุความต้องการได้ ไม่รู้ว่าต้นตองการสารสนเทศอะไร แต่ถ้ามีผู้หาสารสนเทศมาให้รู้ว่าตนสามารถบอกถึงความพึงพอใจที่มีต่อสารสนเทศที่ได้รับ
          2. ระดับรู้ความต้องการ  ผู้ต้องการใช้สารสนเทศรู้ว่าตนมีความต้องการ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนหรือบอกได้กระจ่างว่าตนต้องการอะไร ดังนั้น เพื่อให้ความคิดของตนกระจ่าง ผู้ใช้จะพูดกับผู้อื่นโดยหวังว่าฝ่ายหลังจะเข้าใจ และถามต่อเพื่อลดความไม่ชัดเจนที่มีอยู่ลง
          3. ระดับบอกความต้องการได้  ในกรณีนี้ผู้ต้องการใช้สารสนเทศสามารถอธิบายคำถามหรือความต้องการสารสนเทศได้ชัดเจนขึ้น ความกำกวมลดลง
          4. ระดับรู้แจ้ง  ผู้ใช้สามารถบอกความต้องการ ตลอดจนแหล่งสารสนเทศที่จะลดความต้องการผู้ปฎิบัติงานสารสนเทศจึงไม่ต้องสอบถามเพื่อดูความคิด ความต้องการของผู้ใช้ที่ซ้อนเร่นอยู่ เพียงแต่จับความต้องการที่ผู้ใช้บอกและนำไปค้นสารสนเทศจากระบบสารสนเทศที่มีอยู่
         
   แหล่งสารสนเทศ (Information Sources) หมายถึง แหล่งความรู้ต่างๆที่ผู้ใช้                สามารถศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยสารสนเทศที่มีให้บริการนั้นอาจได้มาจากการรวบรวมและจัดหาจากที่มีอยู่เดิมหรือผลิตขึ้นเอง แหล่งสารสนเทศหลักที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศที่เป็นองค์กรที่จัดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้โดยตรง เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ และหอศิลป์ เป็นต้น และแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่ได้จัดให้บริการสารสนเทศโดยตรง เช่น บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่ได้เป็นองค์กร สถานที่ หรือบุคคลแต่เป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน ได้แก่ อินเตอร์เน็ต


การพิจารณาแหล่งสารสนเทศ
          1.แหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ กล่าวคือ หากเราต้องการรู้สารสนเทศอย่างหนึ่ง เราควรรู้ว่าสารสนเทศนั้นมีอยู่ที่ใด หรือน่าจะอยู่ที่ใด และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
          2.วิธีการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศแต่ละแห่งย่อมมีข้อจำกัดในการเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าไปใช้
          3.ขอบข่ายของเนื้อหาของสารสนเทศที่มีในแหล่งนั้นๆ ควรรู้ว่าแหล่งสารสนเทศนั้นมีสารสนเทศเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ให้รายละเอียดในลักษณะใด และมีความทันสมัยมากน้อยเพียงใด
          การศึกษาค้นคว้า หมายถึง การหาข้อมูลและการหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบ จากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้รับคำตอบหรือเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจ การศึกษาค้นความจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้เรามีความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากขึ้นและขัดเจนขึ้น
          การสืบค้นสารสนเทศ (Information Retrieval) เป็นกระบวนการในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มีการบันทึก และเผยแพร่ไว้ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ  

                                                         

                                                 
         กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศ  หมายถึง วิธีการเพื่อให้ได้สารสนเทศตามวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และตรงต่อความต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสืบค้นสารสนเทศ  กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศมี 2 ลักษณะ คือ
           1. ผู้สืบค้นสารสนเทศทราบรายละเอียดบางส่วนของทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ (know item search) เช่น ทราบชื่อผู้แต่งก็สามารถใช้ชื่อผู้แต่งค้น ถ้าทราบชื่อเรื่องก็สามารถใช้ชื่อเรื่องค้น เป็นต้น ทำให้การค้นหาทำได้รวดเร็ว และไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญในการค้นมาก การค้นลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นแบบพื้นฐาน (Basic Search)
          2. ผู้สืบค้นสารสนเทศไม่ทราบรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการค้น (Un(know item search) ผู้สืบค้นสารสนเทศจะต้องคิดและกำหนดคำค้นที่เป็นคำหรือวลีเพื่อใช้แทนเนื้อหาสาระหรือประเด็นหลักของคำถาม หรือ เรื่องที่ต้องการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คำค้นในลักษณะนี้มีหลายประเภท ได้แก่ หัวเรื่อง อรรถภิธาน และคำสำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยค้นที่สำคัญในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ การค้นลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นแบบขั้นสูง (Advanced search หรือ Enhanced Search)
          ดังนั้นอาจพอสรุปได้ว่า เราสามารถแสวงหาสารสนเทศได้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา และสามารถเข้าสารสนเทศที่เราได้รับนั้นมาพัฒนาให้เกิดเป้นความรู้ ความชำนาญ เพื่อใช้ในการทำงานให้มีประสิธิภาพได้



อ้างอิง
       https://www.gotoknow.org/posts/377301
       http://autano.blogspot.com/2011/10/2.html
       http://popofblog.blogspot.com/
       http://library.tisi.go.th/New-web/T/e-manual/resource/pub00_def.html