วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558



               การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ


การประเมินสารสนเทศ 



               ขั้นตอนการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นจากแหล่งต่างๆ เพื่อตรวจสอบความสำคัญ และคุณค่าของสารสนเทศว่าตรงตามความต้องการของเราหรือไม่ เช่น เนื้อหาเก่าเกินไปหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการหรือไม่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณค่า และนำไปใช้งานได้อย่างแท้จริง

ทำไมจึงต้องประเมินสารสนเทศ
             เพราะในการสืบค้นสารสนเทศอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการ และไม่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสารสนเทศนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ จึงควรประเมินสารสนเทศเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่สอดคล้องกับความต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

การประเมินสารสนเทศที่ได้จากอินเทอร์เน็ต

              เราสามารถพิจารณาได้จาก :
1. ความเกี่ยวข้อง (Relevance) เป็นการพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นมีความเกี่ยวข้อง หรือตรงกับหัวข้อที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากชื่อเรื่อง และคำสำคัญ 2. ความถูกต้อง (Accuracy) เป็นการตรวจสอบเนื้อหาของสารสนเทศที่ได้ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก 
• การนำเสนอในลักษณะเป็นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น มีความเป็นกลางหรือไม่
• มีโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือไม่ หากมีอาจทำให้สารสนเทศมีความลำเอียงได้
• มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่
• มีการเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

3. ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำ (Authority) เป็นการพิจารณาว่าผู้จัดทำหรือผู้เขียน มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในหัวข้อเรื่องนั้นๆ หรือไม่ เช่นดูจากรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ จากหัวข้อ About us หรือดูจาก URL ที่ลงท้ายด้วย .edu, .ac, .org, .gov, .go.th ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น .com, .biz ตลอดจนมีที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้ ฯลฯ

4. ความทันสมัย (Currency) เป็นการพิจารณาถึงความทันสมัย หรือการปรับปรุงครั้งล่าสุด เช่น ดูว่าสารสนเทศนั้นมีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อใด สามารถดูได้จากวันที่ที่สร้าง / แก้ไขปรับปรุงเว็บไซต์ หรือดูจากวันเดือนปีของแหล่งที่มาที่นำมาอ้างอิง


จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ


               การใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตน จะต้องเขียนอ้างอิงถึงผลงานที่นำมาอ้างทุกครั้ง เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้เขียนเดิม อีกทั้งยังช่วยผู้อ่านในการติดตาม ค้นหารายการอ้างอิงที่ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปได้

ขั้นตอน การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ
             
               การประเมินสารสนเทศเป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น สารสนเทศที่ไม่ใช้ เช่น เป็นสารสนเทศที่ไม่ตรงกับความต้องการ, เนื้อหาสารสนเทศล้าสมัย หรือ สารสนเทศนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ จากการประเมินสารสนเทศจะทำให้เราได้สารสนเทศที่มีคุณค่าและนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

หลักการประเมินสารสนเทศ
             
               1.ประเมินความตรงกับความต้องการสารสนเทศ
                   พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการสารสนเทศของเราหรือไม่ ตรงมากน้อยเพียงใด โดยเลือกเรื่องที่ตรงกับความต้องการ ตัดทิ้งเรื่องที่ไม่ตรงกับความต้องการวิธีการ คือ การอ่านเบื้องต้น ได้แก่การอ่านชื่อเรื่อง คำนำ หน้าสารบัญ หรือเนื้อเรื่องย่อๆ เพื่อพิจารณาว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการสารสนเทศหรือไม่ซึ่งส่วนใหญ่ ชื่อเรื่องของสารสนเทศก็อาจจะสามารถประเมินได้ทันทีว่า ตรงหรือไม่ตรง เนื่องจาก คำสำคัญเป็นคำเดียวกันกับความต้องการสารสนเทศและชื่อเรื่องของสารสนเทศ แต่หากชื่อเรื่องไม่บ่งชัดว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันอาจต้องพิจารณาจาก คำนำ สารบัญ และเนื้อหาโดยย่อ

              2. ประเมินความน่าเชื่อถือและความทันสมัยของสารสนเทศ
                  พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ น่าเชื่อถือเพียงไร ซึ่งการประเมินความน่าเชื่อถือมีรายละเอียดที่ควรพิจารณา ได้แก่
                  2.1 ประเมินความน่าเชื่อถือของ แหล่งสารสนเทศ โดยพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นได้มาจากแหล่งสารสนเทศใด โดยส่วนใหญ่ แหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือนั้นจะเป็นแหล่งสารสนเทศสถาบัน เช่น ห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาจากบรรณารักษ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าหรือไม่มีความน่าเชื่อเลย คือ การรับรู้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองเนื้อหาเองว่าเนื้อหาจากเว็บไซต์ใดที่น่าเชื่อถือ
                   2.2 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ทรัพยากรสารสนเทศ โดยพิจารณาว่า ทรัพยากรสารสนเทศหรือสารสนเทศนั้นๆ เป็นรูปแบบใด lสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น
                    2.3 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ โดยพิจารณาว่า ผู้เขียนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ รวมทั้งความน่าเชื่อถือผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาเฉพาะด้าน มักจะมีความน่าเชื่อถือในแวดวงวิชาการนั้นๆ หน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นภาครัฐบาล องค์กร สมาคม มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือบุคคล
ตัวอย่าง เช่น กรณีที่เป็นบทความวิชาการ ให้พิจารณาว่า ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชานั้นๆ มีชื่อเสียงในทางวิชาการ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือไม่ ผู้เขียน/ผู้จัดทำ/สำนักพิมพ์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และต้องมีความต่อเนื่องในการเผยแพร่
                   2.4 ประเมินความทันสมัยของสารสนเทศ โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์พิจารณาความทันสมัย จาก วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ เป็นต้น
             
                3. ประเมินระดับเนื้อหาของสารสนเทศ ซึ่งระดับเนื้อหาสารสนเทศมี 3 ระดับ ได้แก่

                    1. สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เช่น ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายส่วนตัว รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล สารสนเทศประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือควรนำมาอ้างอิงมากที่สุด เพราะเป็นข้อมูลจริงที่ได้จากผู้เขียน และยังไม่ได้ผ่านการเรียบเรียงหรือปรับแต่งใหม่จากบุคคลอื่น
                   2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) เป็นการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาเขียนใหม่ อธิบาย เรียบเรียง วิจารณ์ใหม่ให้เข้าใจง่ายเพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้สารสนเทศ หรือเป็นเครื่องมือช่วยค้นหรือติดตามสารสนเทศปฐมภูมิ เช่น หนังสือ บทความวารสาร บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
                   3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ 2 ระดับแรก ที่ไม่ได้ให้เนื้อหาสารสนเทศโดยตรงแต่เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น บรรณานุกรม ดรรชนีวารสารและวารสารสาระสังเขป

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.youtube.com/v/sf_RVvWbgdY?

แหล่งสารสนเทศ




                "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น"
ตั้งอยู่ที่ถนนกสิกรทุ่งสร้าง เป็นสถานที่ที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุและ  ศิลปวัตถุที่เป็นของแถบอีสานตอนเหนือ โดยรอบอาคารพิพิธภัณฑ์จัดตั้งใบเสมาหินที่ได้จาก "เมืองฟ้าแดดสงยาง" เป็นจำนวนมาก  โดยแบ่งเรื่องราวตามหัวข้อดังนี้
           1.สภาพภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาอีสานเหนือ
              1.1สมัยก่อนประวัติศาสตร์-การตั้งถิ่นฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ พิธีกรรม การฝังศพ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ-เมืองและชุมชนโบราณ
              1.2 สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็นวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมรหรือลพบุรีและวัฒนธรรมไทยลาว
           2. วิวัฒนาการศิลปะในประเทศไทย
           3. เมืองขอนแก่น ประกอบด้วย ร่องรอยอดีต ประวัติชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมพื้นบ้านโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ฯ มี -ใบเสมาหินจำหลักสมัยทวารวดี ชิ้นที่งามที่สุด คือ ใบเสมาหินจำหลักนูนต่ำ พระพุทธเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุเป็นภาพจำหลักที่ชัดเจนและสมบูรณ์กว่าแผ่นอื่น ภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท เป็นภาพแสดงการถวายความเคารพบูชาอย่างสูง ได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระพุทธรูปสำริด ภาพปูนปั้นและพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีได้จากการขุดแต่งเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ แผ่นเงินดุน ภาพพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ภาพบุคคล และเจดีย์บรรจุอยู่ในหม้อดินเผา ได้จากการขุดค้นเมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม  -โบราณวัตถุสมัยลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 เช่น
 -เทวรูปพระอิศวรหินทราย พบที่บริเวณกู่น้อย เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

http://iskk-crazyboxer.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น